กล้ารู้ : องค์ความรู้ : สร้างการเรียนรู้ให้เด็ก LD ด้วยประสบการณ์ชีวิต

สร้างการเรียนรู้ให้เด็ก LD ด้วยประสบการณ์ชีวิต





 

เราต่างปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจของเด็กมีการพัฒนาช้าลง ไม่ว่าจะด้วยเพราะด้วยอาหาร สภาพมลพิษในอากาศ สภาพสังคม หรือแม้แต่เทคโนโลยีมีผลกระทบต่อสุขภาพเด็กๆไม่น้อย วันนี้เรามีเรื่องราวดีๆ จากพี่คนกล้าฯ เล่าเรื่องราวของลูกชายที่มีความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้มาฝากกันค่ะ

 

น้องไตเติ้ล หรือ ด.ช. ศิวัช รัตนานพ เกิดวันที่ 23 มีนาคม 2549 พอเข้าโรงเรียนตอนอายุได้ 3 ขวบ ก็สังเกตุ​ได้ว่า..ลูกมีพัฒนาการ​ต้านสมองช้ากว่าเด็กคนอื่น ​จึงพาไปปรึกษา​แพทย์​ทางด้านพัฒนาการ ​ และแพทย์ได้ทดสอบดูวินิจฉัย​ว่าไตเติ้ล​เป็นโรค​การเรียน​รู้​บกพร่องหรือ LD* และได้ไปพบแพทย์​อยู่ 2 ปีโดยแพทย์​บอกว่าความสามารถ​ของไตเติ้ล​นั้น ยังไม่ถึงขั้น ต้องกินยารักษาแค่พัฒนา​เรียนรู้​ในสิ่งที่ลูกชอบก็พอ

 

ตั้งแต่ 5 ขวบเป็น​ต้นมา ก็มีการพาทำการเกษตร​ร่วมกับครอบครัว​ พาไปเที่ยว​ตามที่แม่ไป เช่น การลงแขกเอามื้อกับคนกล้าฯ และการไปแจกของให้กับเพื่อน​ที่อยู่ห่างไกลที่อุ้มผาง จนทำให้การเรียนรู้​ที่ดีขึ้นตามลำดับ โดยที่ไม่ได้พาไปพบแพทย์​อีกเลย แพทย์​แนะนำให้ทำในสิ่งที่ไตเติ้ล​ชอบ ซึ่งไตเติ้ล​สนใจด้านการเกษตร​ตามแบบที่ในหลวงท่านทรงดำริไว้คือ เกษตร​ทฤษฎี​ใหม่ ไตเติ้ล​จดจำและทำตามแบบที่แม่ทำ จำได้ว่าไส้เดือนมีประโยชน์​ ช่วยทำปุ๋ย หญ้าใบไม้อย่าเผาเกิดภาวะ​โลก​ร้อน​ การเอาพืชผักมาหมักทำน้ำหมัก และถ้าไตเติ้ล​อยากกินอะไรก็จะขอให้แม่ซื้อหรือหาเมล็ด​พันธุ์​นั้นๆมาเพื่อที่จะปลูกและไว้กินเอง

 

เห็นมั้ยคะ การให้เด็กได้ลองเรียนรู้ และลงมือทำสามารถช่วยให้พัฒนาการของเค้าค่อยๆดีขึ้นได้ หากผู้ปกครองท่านใดจะนำไปใช้กับบุตรหลานของท่านก็ได้เลยนะคะ เราเชื่อว่า ธรรมชาติ จะช่วยทำให้เด็กมีความสุขกับการเรียนรู้ และพัฒนาทั้งสุขภาพและจิตใจไปพร้อมๆกัน

   

 

 

หมายเหตุ:

*เด็ก LD หมายถึงเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ เนื่องจากมีความผิดปกติของระบบประสาทชนิดถาวร ทำให้สมองถูกจำกัดความสามารถในการเรียนรู้ การทำความเข้าใจ หรือการจดจำ และอาจพบร่วมกับโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ได้ถึงร้อยละ 40-50 เช่น โรคสมาธิสั้น (ADHD) พ่อแม่อาจสังเกตสัญญาณของความผิดปกติจากการที่เด็กไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดได้นาน มีปัญหาในการพูด การอ่าน การเขียน การคำนวณ ส่งผลให้อาจมีทักษะในการเรียนรู้ด้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน ทั้งนี้ ความเอาใจใส่ของคนใกล้ชิดและการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยให้ผู้ป่วยเด็ก LD พัฒนาทักษะทางด้านต่าง ๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพและใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้เหมือนเด็กปกติ