คนกล้าคืนถิ่น

ภัทรภา เนยสูงเนิน

  • คนกล้านครราชสีมา
  • เว็บไซต์ :
  • Facebook :

ภูมิลำเนาเป็นคนจังหวัดนครราชสีมาโดยกำเนิด เป็นบุตรคนแรก จากจำนวนพี่น้อง 3 คน ปัจจุบันประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก อาศัยอยู่กับพ่อและแม่ รายได้ 25,000 บาทต่อเดือน เกิดมาพร้อมกับการเห็นพ่อแม่ทำเกษตร ทำนาข้าว ทำไร่อ้อย แต่ไม่เคยได้ลงมือทำหรือช่วยอะไรเลย พ่อแม่ปลูกฝังว่า ตั้งใจเรียน เรียนหนังสือให้เก่งๆ จะได้ทำงานสบายๆ ในห้องแอร์ ด้วยตอนเด็กไม่ได้คิดอะไรมาก ก้อตั้งใจเรียนตลอดๆมา แม้บ้านอยู่ห่างไกลจากในตัวเมือง ก็สามารถเข้าไปเรียนโรงเรียนประจำจังหวัดได้ คือ โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย คุณพ่อ คุณปู่ คุณอา ก้อเวียนกันไปรับส่งตลอดจนจบการศึกษา มัธยมปลาย โดยทางครอบครัวก็หวังว่าจะได้เป็นหน้าตาและเป็นเจ้าเป็นนายตามความเชื่อเรียนสูงๆจะได้ทำงานสบายๆเงินเดือนเยอะๆเพราะเรียนเก่งกว่าบรรดาพี่น้อง แม้อายุ ตอนนั่น 17 ปี แล้วแต่ก้อยังไม่ได้ช่วยงานทางด้านการเกษตรที่บ้านเลยและได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะนิติศาสตร์ ที่กรุงเทพฯ เมื่อก่อนจบก้อได้ทำงานในบริษัท สินมั่นคง ประกันภัย ในตำแหน่ง บริการสินไหม ระหว่างรอทำงานที่ตรงสายของตัวเองที่เรียนมา

พ.ศ. 2554 -2555 เป็นนิติกร ประจำ บริษัทเอกชน ในจังหวัดสมุทรปราการ

พ.ศ.2555-2556 เป็นผู้ช่วยทนายความ บริษัท เอนไลเทริน คอร์ปอเร่ชั่น หรือ ทางทีวี จานดำ ก้อรายการ “หมอกฎหมายทนายหน้าจอ” ในสมัยนั่น อาการป่วยของคุณพ่อ ด้วยอาการโรคเบาหวานเริ่มหนัก น้ำหนักตัวของคุณพ่อเริ่มลดลงเรื่อยๆ สายตาเริ่มมองไม่ค่อยชัด มีครั้งหนึ่งที่ความหวานลดลง จนต้องอาศัยข้างบ้านช่วยส่งตัวพ่อเข้ารักษาโรงพยาบาลซึ่งก้อรักษาอยู่หลายวัน บ่อยๆครั้ง ที่ต้องเดินทางกลับบ้าน การเดินทางจากกทม.มาโคราชเริ่มไม่สะดวก และพ่อก้อเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลบ่อยๆขึ้นค่าครองชีพก้อสูงขึ้นจากการเดินทางบ่อยๆครั้ง แม้จะประหยัดอยู่แบบพอเพียงไม่ได้แต่งตัวตามสมัยหรือใช้จ่ายฟุ่มเฟือยอะไร จึ่งมานั่งทบทวนว่าสิ่งที่ทางบ้านปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก เราปฏิบัติตามกรอบเริ่มจะไม่มีความสุข และเวลาที่มี 24 ชม.เท่ากัน คือ เรา ต้องตื่น แต่งตัว รถติด ทำงาน นั่งรถกลับก้อรถติด เวลาเสียไปกับการเดินทางที่รถติด 3-4 ชั่วโมงต่อวัน แม้ระยะทางที่ทำงานกะที่พักไม่ห่างกันสักเท่าไหร่ กลับถึงที่พักก้ออาบน้ำนอน ชีวิตวนอยู่แบบนี้เรื่อยๆ เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี จึ่งมาคิดทบทวนใหม่เมื่อเริ่มประกอบอาชีพเกษตรกรรมก้อเปิดโควตาอ้อยกับบริษัทน้ำตาลฯ มีพื้นที่ทำไร่อ้อย กว่าร้อยไร่ แต่ก้อประสบปัญหา หนอนกออ้อยระบาด และ อ้อยก้อเก็บเกี่ยวได้แค่ปีละครั่ง ปุ๋ยเคมี ยาคุมยาฆ่าหญ้า จ้างแรงงานทำเท่านั่น จากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูกก้อทำวนมาเช่นนี้ตลอดๆ เลยคิดว่าไม่ค่อยคุ้มกะเวลาที่เสียและสงสารดินที่ปลูก จากที่ต้องรอผลผลิตอ้อยซึ่งไม่ค่อยพอเพียงกับคาใช้จ่ายภายในครอบครัวที่ได้แค่ปีล่ะครั้ง ทบทวนและมองหาอาชีพเสริมจาการทำไร่อ้อยแปลงใหญ่ จึ่งเลือกอาชีพเลี้ยงกบ เพราะสามารถทำเองได้ในพื้นที่หลังบ้านและไม่ต้องจ้างแรงงานภายนอกสิ่งแวดล้อมที่อยู่เริ่มแย่ลงเรื่อยๆ ระบบนิเวศทางธรรมชาติสัตว์บกสัตว์ในท้องถิ่นเริ่มลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากการใช้สารเคมีอย่างหนักในท้องถิ่นที่อยู่ เช่น กบซึ่งเคยหากินได้ตามท้องไร่ท้องนาแทบจะไม่เหลือให้ได้ยินเสียงร้อง แม้อยู่กะท้องทุ่งนาก้อจริงยังต้องไปสั่งกินที่ร้านอาหาร สมัยตอนเป็นเด็กกบชุกชุ่มมากในบริเวณบ้านหนู หรือที่นา แค่พ่อเอาไซไปดัก หรือแค่แม่เดินเอาเบ็ดไปปักทิ้งๆไว้ตามคันนา หนูก้อจะมีอาหารกินแล้ว ปลาทอดบ้าง กบทอดบ้าง หนูเลยคิดว่าถ้าอยากได้ยินเสียงกบก้อต้องเอากบมาเลี้ยงสิ เลยสั่งกบมาเลี้ยงจากลูกกบตัวล่ะบาท จำนวน 2000 ตัวครั้งแรก โดยมีความตั้งใจที่จะหาข้อมูลเชิงลึกในการเลี้ยงกบ ทั้งถามคนที่เคยเลยมา ก้อหลายท่านทั้งในจังหวัดหรือทั้งเหนือ อีสานใต้ ใครว่าเจ๋ง หนูก้อไปฝากเนื้อฝากตัวเป็นศิษย์หลายท่าน ทั้งยาที่หรือเคมี ใครว่าดีหนูก้อลองใช้ ลองทดลองมาตลอดๆ คือว่าลองผิดลองถูกมาเรื่อยๆค่ะ จนค้นพบว่าแท้ที่จริง กบก้อเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชอบอาศัยอยู่ในระบบนิเวศธรรมที่สมบูรณ์ไม่มีสารพิษ อากาศดี อาหารดี น้ำสะอาด กบก็แข็งแรง เลยเลิกใช้ยาและหันมาใช้สมุนไพรควบคู่กับอาหารเม็ดให้กบกิน และพัฒนาตัวเองอยู่เรื่อยๆมาตลอดๆค่ะ การเลี้ยงกบเริ่มมีรายได้เข้ามาหลังที่เลี้ยงกบแค่เพียง 75 วัน เพราะสามารถ ขายกบเนื้อออกสู่ตลาด แค่ทยอยจับเรื่อย เพื่อขายส่งที่ตลาดสดประจำอำเภอโดยมีพ่อค้าเจ้าประจำค่อยรับซื้อ ทุกสามวันกับออร์เดอร์ 40 กก. และบริหารจัดการลงลูกกบเรื่อยๆ และพัฒนาจนสามารถเพาะเองได้บางบางส่วน เป็นการลดต้นทุนการผลิต จากที่เคยรอผลผลิตอ้อยปีละครั้ง หนูก็สามารถมีรายได้กำไรการขายกบ ทุกสามวัน โดยขายส่งได้กิโลกรัมล่ะ 70-80 บาท(ตามช่วงฤดูกาล) และขายปลีกหน้าฟาร์ม กิโลกรัมล่ะ 100 บาท

แรงบันดาลใจการเป็นคนกล้าคืนถิ่นเมื่องกรุงหรืออาชีพที่นั่งในห้องแอร์และมนุษย์เงินเดือนเริ่มไม่ตอบโจทย์กะตัวเองด้วยปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมการเดินทาง ความมีน้ำใจต่อกัน การแข่งขันชิงดีชิงเด่นเพื่อเอาตัวรอดของแต่ละบุคคลและปัญหาค่าครองชีพที่ไม่น่าเสียก้อต้องเสียและค่อนข้างสูง แต่การเรียนรู้กะสิ่งแวดล้อม รอบๆตัวที่บรรพบุรุษมีมาให้กลับมีความสุขการเห็นไส้เดือนหน้าฝน การเห็นพืชผักสีเขียวสิ่งเล็กๆแค่นี้ทำให้เรามีรอยยิ้ม และสดชื่นขึ้นมาได้ เมื่อได้มารู้จักกับโครงการคนกล้าคืนถิ่นในโลกออนไลน์ เลยตรงกับใจที่เราคิด เลยสมัครเข้าร่วมโครงการฯเข้ามา

ผลงานเดิมก่อนเข้าโครงการต้นจันผา 5 ต้นกล้วยไม้แคททรียา 10 กรถางกล้วยไม้แวนด้า 2 กระถาง กบ 500 ตัว ๖.ผลงานหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นหรือต่อยอดหลังร่วมโครงการ จากการอบรมที่บ้านบ่มเพาะ สวนลุงโชค ลงมะกรูด 100 ต้น จากพี่น้องคนกล้า เริ่มปลูกกล้วยน้ำหว้า ขยายได้กว่า 5 ไร่ และไม่กำจัดผักตบที่มีในบ่อกว่า 2 บ่อ ขนาด 1..5 งาน จำนวน 2 บ่อ เพื่อรักษาระบบนิเวศเพื่อสานต่อ ปลูกเสาวรส จากการผ่านอบรมเติมเต็ม